**ขออนุโมทนาแก่ผู้บริจาคสมทบทุนสร้างพุทธอุทยานหนองหารหลวงและมหาเจดีย์บรรจุพระเกศาสมเด็จย่า ดังมีรายนามต่อไปนี้ >>>ดร.มาลินี จรูญธรรม ๓๐๐,ครอบครัวคุณยายอรุณี โฮมไชยา ๕๐๐, นางสาวจำรอง แสงพรหมศรี ๕๐๐, นางพัลลภา กิ่่งแก้ว พร้อมบุตรธิดา ๕๐๐,คุณตาทศพล กุศลเฉลิมวิทย์ ๑๐,๐๐๐<<<
หน้าแรกข่าวประชาสัมพันธ์บทความรายนามผู้ร่วมสร้างพุทธอุทยานฯรูปภาพห้องสนทนาติดต่อเรา

ขอเชิญรับฟังรายการ "คนดีศรีสังคม" ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 19.30-20.00 น. และรายการ "สืบสานวัฒนธรรมไทย" วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. ออกอากาศพร้อมกันทั้งระบบ เอเอ็ม เอฟเอ็ม และออนไลน์ทั่วโลก ทางสถานีวิทยุ 909 สกลนคร www.rbs909.com

พระพุทธศาสนามุ่งประโยชน์สุขและสันติภาพแก่บุคคล สังคมและโลก


หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา ที่มุ่งประโยชน์และความสุขแก่บุคคล ได้แก่
1. ทิฎฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน ได้แก่ การตั้งตัวได้อย่างมั่นคงมีทรัพย์ใช้จ่ายไม่ขัดสน หลักปฏิบัติเพื่อให้ได้รับ ประโยชน์ในปัจจุบันมี 4 ประการ
1) อุฏฐานสัมปทา มีความหมั่นขยัน
2) อารักขสัมปทา รักษาทรัพย์ที่หามาได้
3) กัลยาณมิตตตา คบเพื่อนที่ดี
4)สมชีวิตา เลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หามาได้
2. สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์ในภายหน้า หมายถึง ในอนาคตของชาติปัจจุบันนี้หรือในชาติต่อๆ ไป ได้แก่ ความอุ่นใจว่าได้ทำความดีไว้พร้อมแล้ว สามารถหวังความเจริญในอนาคต หรือหวังสุคติในชาติต่อไปได้ หลักปฏิบัติเพื่อให้ได้รับประโยชน์ในภายหน้ามี 4 ประการ
1) สัทธาสัมปทา มีศรัทธาที่ถูกต้อง
2) สีลสัมปทา  มีศีลบริสุทธิ์ตามภูมิชั้นของตน
3) จาคสัมปทา ทำการบริจาคอย่างสมบูรณ์
4) ปัญญาสัมปทา มีปัญญาเพียบพร้อม รู้จักบาปบุญคุณโทษ

3. ปรมัตถะ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือ นิพพาน ความดับกิเลสและกองทุกข์ได้สิ้นเชิง ซึ่งจะบรรลุได้ด้วยการดำเนินตามอริยมรรคมีองค์ 8 ประการเมื่อปฏิบัติตามอริยมรรค ย่อมได้รับผลตามสมควรแก่การปฏิบัติ
หลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่มุ่งความสุขแก่บุคคล 
โดยสอนเรื่องความสุขและวิธีปฏิบัติให้ถึงความสุข ความสุขมี 2 ประเภท คือ โลกิยสุข ความสุขที่เกี่ยวข้องกับโลก และโลกุตตรสุข ความสุขเหนือโลก
โลกิยสุข สำหรับความสุขของคฤหัสถ์มี 4 ประการคือ 1) สุขเกิดจากความมีทรัพย์  2) สุขเกิดจากการจ่ายบริโภค 3) สุขเกิดจากความไม่ต้องเป็นหนี้ 4) สุขเกิดจากการประกอบการงานที่ปราศจากโทษ
โลกุตตรสุข ความสุขของพระอริยบุคคล ผู้พ้นจากกิเลสบางส่วนหรือสิ้นเชิง การกำจัดกิเลสได้หมดสิ้นนั้นพระพุทธศาสนา ถือว่า เป็นความสุขอย่างยิ่ง
เศรษฐกิจพอเพียง
คำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง”  หมายถึง เศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ เน้นการผลิตและการบริโภคแบบพออยู่พอกินเป็นหลัก ซึ่งไม่ได้เน้นกำไรสุทธิหรือความร่ำรวยเป็นเป้าหมายสูงสุด เป็นระบบเศรษฐกิจที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันของเราทรงดำริขึ้นมา เพื่อแสวงหาทางออกจากวิกฤษตเศรษกิจให้กับสัมคมไทย ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ ” การที่พึ่งตนเองได้”  
เศรษฐกิจพอเพียงนี้ เน้นให้คนในชุมชนพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพอเพียง ไปจนถึงขั้นการแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและเสริมทักษะทางวิชาการที่หลากหลาย ใช้ชุมชนดำรงอยู่ได้ด้วยการยึดหลักแห่งความถูกต้องดีงาม มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นต้น
วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายหลักของเศรษฐกิจพอเพียงก็คือ  ความสงบสุขของผู้คนในสังคม ประชาชนมีกินมีใช้อย่างเพียงพอแก่ความต้องการ ที่สำคัญต้องไม่ทำตนและผู้อื่นเดือนร้อน ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนาหลายประการ ดังนี้
                         1. หลักธรรมการพึ่งพาตนเอง ( อตฺตา หิ อตฺต โน นาโถ)
                         2. หลักธรรมความรู้จักพอประมาณ (อตฺตญฺญุตา) 
                         3. หลักธรรมเรื่องราวความสันโดษ ( สนฺตุฏฺฐิ ปรมํ ธนํ)
                         4. หลักธรรมความเป็นผู้รู้จักใช้เหตุผลในการดำเนินชีวิต (ธมฺมญฺญุตา อตฺถญฺญุตา)
                         5. หลักธรรมเรื่องทางสายกลาง หรือ ความพอดี (มชฺฌิมปฏิปทา)
                         6. หลักธรรมเรื่องความไม่โลภมาก (อโลภ) 
กล่าวโดยสรุปแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงเป็นหลักเศรษฐกิจที่สอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ หลักเศรษฐศาสตร์ตามแนวพุทธ ที่มุ่งให้มนุษย์จำกัด หรือความอยาก หรือความต้องการของตนเอง แทนการกระตุ้นตัญหาหรือความอยาก เพื่อให้เกิดการบริโภคมากขึ้น (บริโภคนิยม) เนื่องจากพระพุทธศาสนาเห็นว่าความต้องการของมนุษย์นั้นไม่มีขีดจำกัด แต่ขณะเดียวกันทรัพยากรมีขีดจำกัด เมื่อไม่ประหยัด สิ่งเหล่านั้นก็จะหมดสิ้นไปในที่สุด การปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงจึงต้องหันมาแข้ไขที่ตนเองก่อน จำกัดความอยาก ความต้องการ ให้รู้จักพอดี ไม่บริโภคเกินความพอดี หรือตกเป็นทาสของวัตถุ เมื่อเราปฏิบัติได้ดังข้อที่กล่าวมาแล้ว ก็จะพบแต่ความสุขใจได้ง่ายขึ้น และยังเป็นการลดการแก่งแย่งแข่งขัน การเอารัดเอาเปรียบซึ่งกันและกัน การเบียดเบียดเบียนเพื่อนมนุษย์และสัตว์อื่น ตลอดถึงการเบียดเบียนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นสาเหตุของการเกิดภัยธรรมชาติตามมา
การอาศัยหลักธรรมทางพุทธศาสนาบูรณาการทางเศรษฐกิจ คือหลักเศรษฐกิจสายกลาง หรือเศรษฐกิจมัชฌิมา หรือเป็นหลักคำสอนที่เป็นหัวใจที่สำคัญ หรือคุณค่าทางจริยธรรมอยู่ตรงที่การดำรงชีวิต ด้านการหาเลี้ยงชีพอย่างถูกต้องเรียกว่า สัมมาอาชีวะ หรือสัมมาเศรษฐกิจ 
คำว่า “เศรษฐกิจ” มาจากคำสองคำรวมกันคือคำว่า เศรษฐ แปลว่า ดีเลิศ และว่า กิจ แปลว่า การประกอบการ เมื่อนำคำสองคำมารวมกันจึงได้ความว่า การประกอบกิจการงานเกี่ยวกับการผลิต การจำหน่าย จ่าย แจก การบริโภค และการใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ให้ได้ผลดี ส่วนคำว่าพอเพียงหมายถึง พออยู่พอกิน ความเหมาะสม หรือ ความพอดี และเมื่อร่วมกันจึงได้ความว่า การผลิตจำหน่าย และบริโภคอย่างพอเหมาะพอดี อย่างประเสริฐ 
แนวคิดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง คือ การนำคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นแนวทางในการประสานกลมกลืนกับวิธีชีวิตของชาวบ้านที่เป็นเกษตรกรอย่างชาญฉลาด และเป็นรูปธรรม หลักจริยธรรมดังกล่าวคือ หลักการเดินสายกลาง หรือ มัชฌิมาปฏิปทาระดับโลกิยธรรม คือธรรมที่เหมาะแก่ชาวบ้านทั่วไปได้แก่ ความเป็นรู้จักพอในการบริโภคใช้สอยทรัพยากรธรรมชาติ และการใช้ชีวิตแบบไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ ซึ่งมีลักษณะเป็นการเน้นการลด ละ เลิก อบายมุข ด้วยการประพฤติตามหลักเบญจศีล และ เบญจธรรม ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของการเป็นวิถีพุทธ
เศรษฐศาสตร์แนวพุทธมีหลักที่เรียกว่า “ความรู้จักประมาณในการบริโภค (โภชาเนมัตตัญณุตา) และหลักการไม่เบียดเบียนกัน ความไม่เบียนในพระพุทธศาสนา หมายถึง การไม่ทำร้ายชีวิตสัตว์ทั้งปวง (อหิงสา สัพพ ปาณานัง) ซึ่งรวมอยู่ในระบบนิเวศด้วย นับว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ เป็นเศรษฐศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณภาพชีวิตอย่างแท้จริง 
สัมมาอาชีวะเป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์แนวพุทธ สัมมาอาชีวะมักมาคู่กับสัมมาวาจาและสัมมากัมมันตะ สัมมากัมมันตะคือการประกอบอาชีพที่สุจริต ไม่มีโทษ ไม่ผิดศีลธรรม เป็นงานที่หามาด้วยหยาดเหงื่อแรงงานของตนเองตามหลักการหาทรัพย์ที่ดีในพระพุทธศาสนา คือ การขยันทำงาน (อุฏฐานะสัมปทา) ประหยัดอดอม (อารักขสัมปทา) รู้จักคบเพื่อนที่ดี (กัลยาณมิตตตา) และเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสม (สมชีวีตา) การเลี้ยงชีวิตอย่างเหมาะสมตรงกับ คำว่า สัมมาอาชีวะในมรรคแปด 
สัมมอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีวิตที่เหมาะสม ถูกต้อง แปลอีกอย่างหนึ่งว่า เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งขยายความได้ว่า การเลี้ยงชีวิตก็คือการดำเนินชีวิตด้วยการผลิต การจำหน่าย และการใช้สอย คำว่า พอเพียง ก็คือ อย่างเหมาะสม ถูกต้อง สัมมาอาชีวะเป็นชีวิตที่ประสบความสำเร็จ
อาชีวสมบัติ หมายถึง การเลี้ยงชีวิตหรือมีอาชีพที่ดี ซึ่งตรงกันข้ามกับการเลี้ยงชีวิตที่ไม่ดีเรียกว่า อาชีววิบัติ เป็นการประกอบอาชีพที่ไม่ดี อันจะนำชีวิตและจิตใจของเราใกล้เข้าไปสูหายนะ อาชีพวิบัติแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. อาชีพวิบัติโดยงาน คือ งานชนิดนั้นไม่ดีอยู่ในตัวของมันเอง เช่น การปล้นฆ่า การลักทรัพย์ การค้าของเถื่อน ค้าอาวุธ ค้าสารเสพติด ค้ามนุษย์ เป็นต้น
2. อาชีพวิบัติโดยการกระทำ คือ งานดีแต่คนทำชั่ว เช่น งานราชการเป็นงานดี แต่ช้าราชการทุจริตคอรัปชั่น งานไม่เสียแต่เสียที่คนทำ
วิธีแก้ไข คือ เราจะต้องเลือกงานที่สุจริตและทำด้วยความตั้งใจไม่คดโกง ดังนั้น จะเก็บได้ว่าเศรษฐกิจพอเพียงประกอบด้วยสัมมาอาชีวะ หรือเศรษฐศาสตร์แนวพุทธอย่างชัดเจน