**ขออนุโมทนาแก่ผู้บริจาคสมทบทุนสร้างพุทธอุทยานหนองหารหลวงและมหาเจดีย์บรรจุพระเกศาสมเด็จย่า ดังมีรายนามต่อไปนี้ >>>ดร.มาลินี จรูญธรรม ๓๐๐,ครอบครัวคุณยายอรุณี โฮมไชยา ๕๐๐, นางสาวจำรอง แสงพรหมศรี ๕๐๐, นางพัลลภา กิ่่งแก้ว พร้อมบุตรธิดา ๕๐๐,คุณตาทศพล กุศลเฉลิมวิทย์ ๑๐,๐๐๐<<<
หน้าแรกข่าวประชาสัมพันธ์บทความรายนามผู้ร่วมสร้างพุทธอุทยานฯรูปภาพห้องสนทนาติดต่อเรา

ขอเชิญรับฟังรายการ "คนดีศรีสังคม" ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 19.30-20.00 น. และรายการ "สืบสานวัฒนธรรมไทย" วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. ออกอากาศพร้อมกันทั้งระบบ เอเอ็ม เอฟเอ็ม และออนไลน์ทั่วโลก ทางสถานีวิทยุ 909 สกลนคร www.rbs909.com

อานาปานสติ 16 ขั้น


16 ขั้นของอานาปานสติภาวนา

ana-pix_016การปฏิบัติตามลำดับขั้นของแต่ละหมวดของอานาปานสติภาวนา

มีทั้งหมด ๔ หมวด ๑๖ ขั้นตอน ดังนี้
หมวดที่ ๑ : กายานุปัสสนาภาวนา
การปฏิบัติในหมวดนี้ คือ การศึกษาเรื่องของกายโดยเฉพาะกายลม คือ ลมหายใจ ต้องศึกษาจนรู้จักธรรมชาติของลมหายใจทุกอย่างทุกชนิดอย่างถี่ถ้วนจนสามารถรู้ชัดว่า กายลมนี้ปรุงแต่งกายเนื้ออย่างไรและสามารถใช้กายลมบังคับกายเนื้อ (ร่างกาย) ได้ตามต้องการ (ปฏิบัติอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)

จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่ ๑ คือ กายานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อฝึกอบรมจิตให้มีความมั่นคงหนักแน่นอยู่ด้วย กำลังของสมาธิ

ขั้นที่ 1       ตามลมหายใจยาว
ขั้นที่ 2       ตามลมหายใจสั้น
ขั้นที่ 3       ตามรู้จัก - ศึกษาลมหายใจทุกชนิดที่ปรุงแต่งกายจนเห็นชัดว่าลมหายใจเป็น “กายสังขาร”
ขั้นที่ 4       ทำลมหายใจให้สงบระงับด้วยการเฝ้าดูจิตสงบนิ่ง
พร้อมอยู่ด้วยสติ- สมาธิอย่างหนักแน่น
หมวดที่ ๒ : เวทนานุปัสสนาภาวนา
การปฏิบัติหมวดนี้ คือการศึกษาเรื่องของเวทนาที่มีอำนาจอิทธิพลปรุงแต่งจิตของมนุษย์ให้ดิ้นรนระส่ำระสายมิให้มีความสงบเย็น จึงต้องศึกษาให้รู้ลักษณะอาการของเวทนาทุกอย่างทั้งสุขเวทนาและทุกขเวทนาอย่างละเอียดจนสามารถบังคับควบคุมเวทนาได้(ปฏิบัติทุกอย่างขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)
จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่๒ คือเวทนานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อฝึกอบรมจิตให้สามารถควบคุมเวทนา มิให้เวทนามีอิทธิพลปรุงแต่งจิตได้
ขั้นที่ 5       ศึกษาปีติแล้วทำปีติให้สงบระงับ
ขั้นที่ 6       ศึกษาสุขแล้วทำสุขเวทนานั้นให้สงบระงับ
ขั้นที่ 7       ศึกษาเวทนาทุกชนิดจนประจักษ์ชัดว่า  เวทนาเป็น จิตตสังขาร
ขั้นที่ 8       ทำเวทนาให้สงบระงับ
หมวดที่ ๓ : จิตตานุปัสสนาภาวนา
การปฏิบัติในหมวดนี้ คือ การศึกษาเรื่องธรรมชาติของจิต เพื่อรู้จักลักษณะอาการของจิตให้ละเอียดถี่ถ้วนทุกแง่มุม แล้วฝึกทดสอบกำลังในการบังคับจิต เพื่อเตรียมจิตให้เป็นจิตที่สงบ มั่นคง ว่องไวพร้อมที่จะพิจารณาธรรมต่อไป (ปฏิบัติอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)
จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่๓ คือ จิตตานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อศึกษาธรรมชาติของจิตจนรู้จักชัดเจน แล้วสามารถควบคุมบังคับจิตได้
ขั้นที่ 9       ศึกษาจิตจนรู้จักธรรมชาติของจิต
ขั้นที่ 10     บังคับจิตให้บันเทิงปราโมทย์
ขั้นที่ 11     บังคับจิตให้นิ่งตั้งมั่นเป็นสมาธิ
ขั้นที่ 12     บังคับจิตให้ปล่อยเป็นอิสระจากความยึดมั่นถือ
มั่นทั้งปวง
หมวดที่ ๔ : ธัมมานุปัสสนาภาวนา
การปฏิบัติในหมวดนี้ คือ การศึกษาเรื่องธรรมที่เป็นสัจจะของธรรม หรือ กฎของธรรมชาติ คือกฎไตรลักษณ์ กฎอิทัปปัจจยตา จนประจักษ์แจ้งในความจริงของธรรมชาติ แล้วจิตจะจางคลายจากความยึดมั่นถือมั่น จนถึงที่สุดคือดับเสียซึ่งความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ในสิ่งทั้งปวงมีจิตที่เป็นอิสระมีความสุขสงบเย็นอยู่ด้วยสุญญาตาวิหาร(ปฏิบัติอยู่ทุกขณะที่หายใจเข้าและหายใจออก)
จุดประสงค์ของการฝึกปฏิบัติหมวดที่ ๔ คือ ธัมมานุปัสสนาภาวนานั้น เพื่อศึกษาธรรม (กฎธรรมชาติ) จนประจักษ์แจ้ง จิตหลุดพ้นจากความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) ทั้งปวง เป็นจิตที่มีแต่ความสุขสงบเย็นเยือกเย็นอันเกษมด้วยสุญญตาวิหาร
ขั้นที่ 13     ใคร่ครวญธรรม (ไตรลักษณ์-อิทัปปัจจยตา) จนประจักษ์ใจในธรรมนั้น
ขั้นที่ 14     เพ่งดูความจางคลาย (วิราคะ) ที่เกิดขึ้นในจิต
ขั้นที่ 15     เพ่งดูความดับ (นิโรธะ) ที่เกิดขึ้นในจิต
ขั้นที่ 16     เพ่งดูความสลัดคืน (ปฏินิสสัคคะ) ที่เกิดขึ้นในจิต


http://www.sdsweb.org/