**ขออนุโมทนาแก่ผู้บริจาคสมทบทุนสร้างพุทธอุทยานหนองหารหลวงและมหาเจดีย์บรรจุพระเกศาสมเด็จย่า ดังมีรายนามต่อไปนี้ >>>ดร.มาลินี จรูญธรรม ๓๐๐,ครอบครัวคุณยายอรุณี โฮมไชยา ๕๐๐, นางสาวจำรอง แสงพรหมศรี ๕๐๐, นางพัลลภา กิ่่งแก้ว พร้อมบุตรธิดา ๕๐๐,คุณตาทศพล กุศลเฉลิมวิทย์ ๑๐,๐๐๐<<<
หน้าแรกข่าวประชาสัมพันธ์บทความรายนามผู้ร่วมสร้างพุทธอุทยานฯรูปภาพห้องสนทนาติดต่อเรา

ขอเชิญรับฟังรายการ "คนดีศรีสังคม" ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 19.30-20.00 น. และรายการ "สืบสานวัฒนธรรมไทย" วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. ออกอากาศพร้อมกันทั้งระบบ เอเอ็ม เอฟเอ็ม และออนไลน์ทั่วโลก ทางสถานีวิทยุ 909 สกลนคร www.rbs909.com

ฆ้องใหญ่วัดสะพานคำ



ฆ้องใหญ่วัดสะพานคำ


วัดสะพานคำ สกลนคร เป็นวัดที่มีฆ้องใหญ่มากที่สุดในจังหวัดสกลนคร มีทั้งหมด ๑๖ ลูก ลูกใหญ่สุดมีเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒ เมตร และเส้นผ่าศูนย์ ๑.๒๐ เมตร จำนวน ๑๕ ลูก ซึ่งมีประวัติความเป็นมาดังนี้ เมื่อสมัยอดีตเจ้าอาวาสวัดสะพานคำรูปก่อน พระครูโอภาสสกลธรรม (สว่าง จนฺทโชโต) มีความตั้งใจอยากสร้างฆ้องใหญ่ไว้ที่สระพังทอง ริมหนองหาร เพราะคนเฒ่าคนแก่เล่าสืบๆกันมาว่าที่สระพังทอง หนองหารมีฆ้องทองคำลูกใหญ่ฝังอยู่ วันศีลวันพระจะได้ยินเสียงฆ้องทองคำนี้เสมอ อดีตเจ้าอาวาสจึงมีแนวคิดที่จะสร้างฆ้องใหญ่ไว้ที่สระพังทอง ประกาศรับบริจาคเครื่องทองเหลืองจากศรัทธาสาธุชน มีชาวบ้านนำหม้อทองเหลือง ขันทองเหลือง เครื่องใช้ทองเหลืองมาบริจาคพอสมควร แต่ยังไม่ทันได้ทำการหล่ออย่างใด ศาลาการเปรียญวัดสะพานคำซึ่งเป็นที่เก็บเครื่องทองเหลืองเหล่านี้ก็มาถูกไฟไหม้ โครงการนี้จึงยกเลิกไป และในที่สุดเจ้าอาวาสก็ได้มามรณภาพลง จนกระทั่งเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๖ พระมหาคาวี ญาณสาโร (ปธ.๖,พธ.บ.,ศศฺ.ม,) จากวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ ได้มาเป็นเจ้าอาวาสสืบต่อแทน ได้มองเห็นความตั้งใจของอดีตเจ้าอาวาสองค์ก่อน ต้องการให้ความตั้งใจของครูบาอาจารย์ได้สำเร็จตามที่ปรารถนา เมื่อพ.ศ.๒๕๕๑ จึงประกาศเชิญชวนผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันบริจาคฆ้องใหญ่ มีเจ้าภาพจำนวน ๑๖ คณะ ได้จารึกชื่อของผู้ถวายไว้ที่ฆ้อง ๑๖ ลูก นั้น ได้ทำการสมโภชอุทิศถวายไว้เป็นสมบัติของพระศาสนาและบูชาพระคุณของครูบาอาจารย์ ได้ทำให้ความตั้งใจของอดีตเจ้าอาวาสสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยตามที่ตั้งใจไว้ทุกประการ ฆ้องเป็นสัญลักษณ์แห่งบุญกุศล ความปีติยินดีเป็นดนตรีที่มักตีในงานที่เกี่ยวเนื่องกับงานบุญประเพณี การทำบุญสุนทานตลอด ได้ยินเสียงฆ้องจากวัดคนโบราณมักยกมือกล่าว สาธุ ๓ ครั้ง อนุโมทนาบุญ "ทำดีแล้วตีฆ้อง ประกาศก้องแก่เทวดา

ชื่นชมอนุโมทนา ให้รู้ว่าเราทำดี" ฆ้องท่านยังเปรียบอุปมาอุปไมยดังนักปราชญ์ชาติเมธี ดังผญาอีสานว่่า "ชายโสภาบัณฑิตวิเศษ หนีจากเขตเมืองบ้านแห่งตน บ่ขัดสนคนลือคนย่อง คือดังฆ้องแก้วเพชรพลอยนิล หนีจากหินจากดินที่อยู่ เข้าไปสู่เป็นสร้อยเป็นแหวน เป็นข้องแขนเครื่องทรงพระราชย์ งามสะอาดกว่าที่อยู่ตน การจรดนการไปนักปราชญ์ บ่ประมาทคิดหน้าคิดหลัง เห็นสมหวังจึงคืนทางเก่า เห็นบ่เปล่าจึงย่างตีนไป" บุคคลผู้ถวายฆ้องย่อมได้รับอานิสงส์มีเกียรติยศชื่อเสียงฟุ้งขจรไปไกล มีคนนิยมชื่นชมยินดีในทุกภพทุกชาติ
ที่มา ข่าวสกล