วันอาสาฬหบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่พระพุทธเจ้าได้ทรงประกาศพระพุทธศาสนาเป็นครั้งแรก โดยการแสดงปฐมเทศนาโปรดพระปัญจวัคคีย์ ทั้ง ๕ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันจนพระอัญญาโกณฑัญญะได้บรรลุธรรมและขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรกในพระพุทธศาสนา จึงถือว่าวันนี้เป็นวันแรกที่มีพระสงฆ์เกิดขึ้นครบองค์พระรัตนตรัย
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดงพระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ ๒ เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ พระรัตนตรัยครบถ้วน คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘ ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์
การแสดงพระปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา นี้ทรงได้แสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า
วันอาสาฬหบูชา เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดงพระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ ๒ เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ พระรัตนตรัยครบถ้วน คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘ ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์
การแสดงพระปฐมเทศนาในวันอาสาฬหบูชา นี้ทรงได้แสดงแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม มีความเห็นแจ้งชัดว่า
ยํ กิญฺจิ สมุทยธมฺมํ สพฺพนฺตํ นิโรธธมฺมนฺติ
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งใดสิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
เมื่อได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทเป็น พระภิกษุในพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าก็ประทานอุปสมบทให้ ด้วยวิธีที่เรียกว่า เอหิภิกขุอุปสัมปทา โดยกล่าวคำว่า เธอจงเป็นภิกษุมาเกิด พระโกณฑัญญะจึงเป็น พระอริยสงฆ์องค์แรก
คำว่า “ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร” แปลว่าสูตรของการหมุนวงล้อแห่งพระธรรมให้เป็นไปมีความโดยย่อว่า
ที่สุด ๒ อย่างที่บรรพชิตไม่ควรประพฤติปฏิบัติคือ การประกอบตนให้อยู่ในความสุขด้วยกาม ซึ่งเป็นธรรมอันเลวเป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ที่สุดอีกทางหนึ่งคือ การประกอบการทรมานตนให้เกิดความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
การดำเนินตามทางสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดทั้งสองอย่างนั้น เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาและญาณให้เกิด เป็นไปเพื่อความสงบระงับ ความรู้ยิ่ง ความตรัสรู้ และนิพพาน ทางสายกลาง ได้แก่ อริยมรรค มีองค์แปด คือ ปัญญาอันเห็นชอบ ดำริห์ชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ พยายามชอบ ระลึกชอบ และตั้งใจชอบ อริยสัจสี่ คือความจริงอันประเสริฐที่พระองค์ค้นพบ มี ๔ ประการได้แก่
อริยสัจ ๘อริยสัจ ๔ แปลว่า ความจริงอันประเสริฐของอริยะ ซึ่งคือ บุคคลที่ห่างไกลจากกิเลศทั้งปวง ได้แก่
๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ จักต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันในความจริง ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้ปัญหา กล้าเผชิญหน้า ต้องเข้าใจในสภาวะโลกในทุกสิ่งนั้นไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หมายถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดทุกข์ ที่จะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ
๓. นิโรธ ได้แก่ การดับทุกข์ การอยู่อย่างรู้เท่าทัน การดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา การไม่มีทุกข์ การไม่ข้องเกี่ยวในกิเลศ
๔. มรรค ได้แก่ หนทางในการแก้ไขปัญหา ในการดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ
๑. ทุกข์ ได้แก่ ปัญหาทั้งหมดทั้งมวลที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ จักต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันในความจริง ต้องยอมรับรู้ กล้าสู้ปัญหา กล้าเผชิญหน้า ต้องเข้าใจในสภาวะโลกในทุกสิ่งนั้นไม่เที่ยง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ยึดติดกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง๒. สมุทัย ได้แก่ เหตุเกิดแห่งทุกข์ หมายถึงสาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดทุกข์ เพราะเป็นต้นเหตุสำคัญในการเกิดทุกข์ ที่จะเชื่อมโยงกับปัจจัยอื่นๆ
๓. นิโรธ ได้แก่ การดับทุกข์ การอยู่อย่างรู้เท่าทัน การดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา การไม่มีทุกข์ การไม่ข้องเกี่ยวในกิเลศ
๔. มรรค ได้แก่ หนทางในการแก้ไขปัญหา ในการดับทุกข์ ซึ่งมีองค์ประกอบทั้ง 8 ประการ
มรรค ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ มีปัญญาเห็นชอบ หมายถึง ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยสติและปัญญา
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม ไม่หลุมหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดี
๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
๔. สัมมากัมมันตะ คือ ความประพฤติชอบ หมายถึง การประพฤติดีงาม อยู่ในทำนองคลองธรรม
๕. สัมมาอาชีวะ คือการมีอาชีพชอบ หมายถึง การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น
๖. สัมมาวายามะ คือ การมีความมานะชอบ หมายถึง ความอุตสาหะพยายาม มีความอดทนต่อการปฏิบัติงานใดๆ
๗. สัมมาสติ คือ การมีสติชอบ หมายถึง การมีสติ ใช้สติอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำจิตให้เลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
๘. สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิชอบ หมายถึง การฝึกจิตให้สงบและตั้งมั่น เพื่อให้ปราศจากกิเลสและนิวรณ์อยู่เสมอ
๑. สัมมาทิฏฐิ คือ มีปัญญาเห็นชอบ หมายถึง ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยสติและปัญญา
๒. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม ไม่หลุมหลงมัวเมาในสิ่งไม่ดี
๓. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม ไม่พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ
๔. สัมมากัมมันตะ คือ ความประพฤติชอบ หมายถึง การประพฤติดีงาม อยู่ในทำนองคลองธรรม
๕. สัมมาอาชีวะ คือการมีอาชีพชอบ หมายถึง การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง ไม่เอาเปรียบหรือเบียดเบียนผู้อื่น
๖. สัมมาวายามะ คือ การมีความมานะชอบ หมายถึง ความอุตสาหะพยายาม มีความอดทนต่อการปฏิบัติงานใดๆ
๗. สัมมาสติ คือ การมีสติชอบ หมายถึง การมีสติ ใช้สติอยู่ตลอดเวลา ไม่ทำจิตให้เลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ
๘. สัมมาสมาธิ คือ การมีสมาธิชอบ หมายถึง การฝึกจิตให้สงบและตั้งมั่น เพื่อให้ปราศจากกิเลสและนิวรณ์อยู่เสมอ
ดวงตา ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า
นี้เป็นทุกข์ อันควรกำหนดรู้ และพระองค์ ได้กำหนดรู้แล้ว
นี้เป็นสาเหตุแห่งทุกข์ อันควรละ และพระองค์ ได้ละแล้ว
นี้เป็นความดับทุกข์ อันควรทำให้แจ้ง และพระองค์ ได้ทำให้แจ้งแล้ว
นี้เป็นหนทางดับทุกข์ อันควรเจริญ และพระองค์ ได้เจริญแล้ว
สรุปได้ว่า ปัญญาอันรู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริงในอริยสัจ ๔ มีรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ คือ ขั้นแรก รู้ว่า อริยสัจแต่ละอย่างนั้นเป็นอย่างไร ขั้นที่สองรู้ว่าควรจะทำอย่างไรในอริยสัจแต่ละประการนั้น และขั้นที่ ๓ พระองค์ได้ กระทำตามนั้นสำเร็จเสร็จแล้ว
วันอาสาฬหบูชา พระองค์ทรงเน้นว่า จากการที่พระองค์ทรงค้นพบ คือตรัสรู้อริยสัจ ๔ ประการนี้ การที่พระองค์ทรงกล้าปฏิญญา ว่าเป็นผู้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ เพราะพระองค์ได้รู้เห็นแจ้งชัดตามความเป็นจริง ในอริยสัจ ๔ มี รอบ ๓ มีอาการ ๑๒ อย่างหมดจดดีแล้ว เมื่อ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประกาศพระธรรมจักร ให้เป็นไปแล้ว ได้มีการบันลือต่อ ๆ กันไปให้ทราบทั่วกันว่า พระธรรมอันยอดเยี่ยมที่พระองค์ทรงประกาศให้เป็นไปแล้ว ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี อันใคร ๆ ในโลกจะปฏิวัติไม่ได้
วันอาสาฬหบูชา มีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ ๓ ประการคือ
๑. เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย
๒. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้นวันอาสาฬหบูชา
๓. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์
กิจกรรมในวันอาสาฬหบูชา
โดยทั่วไปจะนิยมทำบุญ ตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม รักษาศีล และสวดมนต์ ร่วมกันในตอนค่ำในวัดต่างๆ ซึ่งจะมีการจัดพิธีสวดมนต์ เวียนเทียนร่วมกัน โดยถือเป็นการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีของเราชาวพุทธ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างจิตใจให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขอีกด้วย
โดยทั่วไปจะนิยมทำบุญ ตักบาตร เข้าวัดฟังธรรม รักษาศีล และสวดมนต์ ร่วมกันในตอนค่ำในวัดต่างๆ ซึ่งจะมีการจัดพิธีสวดมนต์ เวียนเทียนร่วมกัน โดยถือเป็นการสืบทอดขนบธรรมเนียมประเพณีของเราชาวพุทธ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังช่วยเสริมสร้างจิตใจให้เราดำเนินชีวิตไปอย่างมีความสุขอีกด้วย