**ขออนุโมทนาแก่ผู้บริจาคสมทบทุนสร้างพุทธอุทยานหนองหารหลวงและมหาเจดีย์บรรจุพระเกศาสมเด็จย่า ดังมีรายนามต่อไปนี้ >>>ดร.มาลินี จรูญธรรม ๓๐๐,ครอบครัวคุณยายอรุณี โฮมไชยา ๕๐๐, นางสาวจำรอง แสงพรหมศรี ๕๐๐, นางพัลลภา กิ่่งแก้ว พร้อมบุตรธิดา ๕๐๐,คุณตาทศพล กุศลเฉลิมวิทย์ ๑๐,๐๐๐<<<
หน้าแรกข่าวประชาสัมพันธ์บทความรายนามผู้ร่วมสร้างพุทธอุทยานฯรูปภาพห้องสนทนาติดต่อเรา

ขอเชิญรับฟังรายการ "คนดีศรีสังคม" ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 19.30-20.00 น. และรายการ "สืบสานวัฒนธรรมไทย" วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. ออกอากาศพร้อมกันทั้งระบบ เอเอ็ม เอฟเอ็ม และออนไลน์ทั่วโลก ทางสถานีวิทยุ 909 สกลนคร www.rbs909.com

ตำนานพระอุรังคธาตุ





พระธาตุหลวง



      ตำนานอุรังคธาตุ หรือ ตำนานอุรังคนิทาน เป็นแม่บทของวรรณกรรมตำนานพระธาตุและพระบาทในล้านช้างและแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้งสองฟากฝั่ง เป็นการเดินทางของพระพุทธองค์เมื่อครั้งที่เสด็จยังชมพูทวีป เพื่อมาประทับรอยพระบาทไว้หลายแห่งในดินแดนสองฝั่งแม่น้ำโขง โดยมีพุทธพยากรณ์ว่าสั่งให้ พระมหากัสสป เถระอัครสาวก กับเจ้านครรัฐ 5 พระองค์ รวมกันสร้างพระธาตุ อัญเชิญอุรังคธาตุพระพุทธเจ้ามาบรรจุ ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณ 

      อีกทั้งยังพบว่ามีการอ้างอิงในเรื่องราวของตำนานเรื่องนี้อยู่ในพื้นที่ภาคอีสานตอนบน เช่น ตำนานพระธาตุพนม ตำนานพระธาตุพังพวน ตำนานพระธาตุภูเพ็ก ตำนานพระธาตุนารายณ์เจงเวง ตำนานพระธาตุเชิงชุม ตำนานพระธาตุตุมไก่ ตำนานพระธาตุเขี้ยวฝาง  ตำนานพระธาตุเรณูนคร ตำนานพระธาตุเขาหลวง  ตำนานพระธาตุขามแก่น ตำนานพระพุทธบาทบัวบก ตำนานพระพุทธบาทบัวบาน ตำนานพระพุทธบาทคูภูเวียง ตำนานพระพุทธบาทภูควายเงิน ตำนานพระพุทธบาทเวินปลา ฯลฯ 

   นอกจากนี้ ยังเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกันอยู่ในเรื่องราวของตำนานพระธาตุหลวงเวียงจันทร์ ตำนานพระธาตุศรีโคตรบอง ตำนานพระธาตุอิงฮัง ในเขตฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ซึ่งวันนี้กระปุกดอทคอมจะพาเพื่อน ๆ ไปศึกษาประวัติความเป็นมาของ ตำนานอุรังคธาตุ กันค่ะ...

   ตำนานอุรังคธาตุ ถือเป็นวรรณกรรมที่ได้รับอิทธิพลสืบเนื่องมาจากทางฝ่ายล้านนา ซึ่งเป็นตำนานที่เล่าถึงการสรงสถานที่สำคัญต่าง ๆ ในภาคอีสาน เมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 21 จากความสัมพันธ์ทั้งทางประวัติศาสตร์ ศาสนา เครือญาติ ชาติพันธุ์ การเมืองการปกครองและเศรษฐกิจ ประการสำคัญคือการศาสนาในช่วงรัชสมัยพระเมืองแก้ว พ.ศ.2038 - 2068 ที่พุทธศาสนาถือว่าเป็นยุคเจริญรุ่งเรืองสูงสุด จนกระทั่งถึงรัชสมัยพระเจ้าไชยเชษฐา พ.ศ. 2091-2115 ซึ่งเป็นผู้ที่สืบสายเชื้อวงศ์จากทั้งระหว่างเมืองเชียงใหม่และหลวงพระบางในเวลานั้น โดยได้เป็นบุคคลสำคัญที่นำพามาสู่ความสัมพันธ์ระหว่างสองอาณาจักร ที่ชัดเจนที่สุดเท่าที่มีปรากฏอยู่ในประวัติศาสตร์ล้านนาและล้านช้าง

   สรุปง่าย ๆ คือ ตำนานอุรังคธาตุ บรรยายถึงการก่อสร้างพระธาตุโดยเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา แบ่งหน้าที่กับก่อสร้างและทางบริจาคทรัพย์สินสิ่งของเป็นพุทธบูชา ได้ประโยชน์ในการศึกษาถึงประวัติศาสตร์ เศรษฐกิจ ในยุคนี้เป็นอย่างดีว่ามีเครื่องมือ เครื่องใช้ มีค่านิยมศิลปวัตถุประเภทใดบ้าง


วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร


  ทั้งนี้ ใน ตำนานอุรังคธาตุ นอกจากนิทานอุรังคธาตุแล้ว หลักฐานที่สำคัญทางด้านโบราณสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ พระธาตุพนม ซึ่งใน ตำนานอุรังคธาตุ กล่าวถึงความร่วมมือของเจ้านครรัฐ 5 พระองค์ ขึ้นมาได้แก่ พระยาสุวรรณภิงคาร เมืองหนองหานหลวง, พระยาจุลนีพรหมทัต เมืองแกวสิบสองจุไท, พระยาคำแดง เมืองหนองหานน้อย, พระยาอินทปัต เมืองเขมร และพระยานันทเสน เมืองศรีโคตรบูร ที่มาช่วยกันสร้างองค์ "พระธาตุพนม" ขึ้นมา 

    จะเห็นได้ว่า ตำนานอุรังคธาตุ ให้ภาพความสัมพันธ์ของผู้นำจากดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำโขงทั้ง 5 เมือง ซึ่งสองเมืองฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็คือ เมืองหนองหานน้อย กับ เมืองหนองหานหลวง เป็นพื้นที่บริเวณอุดรธานีและสกลนคร ส่วนอีกสามเมืองนั้นประกอบด้วย เมืองแกวสิบสองจุไท ในดินแดนเวียดนาม เมืองศรีโคตรบูร หรือ มรุกขนคร ในดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และ เมืองอินทปัต ในดินแดนเขมร โดยล้วนแสดงถึงการสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์เหนือดินแดนพุทธศาสนา 

   จาก ตำนานอุรังคธาตุ ประชาชนในอาณาจักรจะมีส่วนร่วมในการสร้าง อุรังคธาตุ ซึ่งในช่วงนั้นจะประกอบไปด้วยนครรัฐต่าง ๆ เช่น นครหนองหารหลวง อยู่บริเวณหนองหารสกลนคร มี พระยาสุวรรณคิงคาร เป็นผู้ครองนคร ได้สร้าง พระธาตุเชิงชุม สวมรอยพระพุทธบาท และพระมเหสีนามว่า พระณารายณ์เจงเวง ได้สร้าง พระกุดนาเวง บรรจุพระอังคารนครหนองหารน้อย ตั้งอยู่ถัดจากหนองหารหลวงไป ได้แก่ หนองหารกุมภวาปีที่พระยาดำแดง เป็นลูกพี่ลูกน้องกับผู้ครองหนองหารหลวง ทั้งสองนครนี้ได้ต้อนรับขบวนนำพระบรมธาตุมาครั้งแรก และได้ร่วมก่อสร้างจนสำเร็จ 

  ต่อมาเกิดน้ำท่วมใหญ่จนหนองหารทั้งสองลัดถึงกัน ประชาชนอพยพไปอยู่ที่เวียงจันทน์ นครศรีโคตรบูรณ์ เป็นแคว้นที่ประดิษฐ์พระอุรังคธาตุ เดิมตั้งอยู่ใต้ปากเซ บั้งไฟซึ่งไหลตกแม่น้ำโขงตรงข้ามพระธาตุพนม ครั้นพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ล่วงลับไปแล้ว พระยานับแสน พระอนุชาขึ้นครองนครแทน ต่อมาเป็นเวลา 13 ปี พระองค์ได้ร่วมสร้างพระอุรังคธาตุครั้งแรก เมื่อทิวงคตแล้วมีการย้ายนครไปตั้งอยู่ทางเหนือพระธาตุชื่อ มรุกขนคร นครสาเกตุ หรือ 101 ประตู (สิบเอ็ดประตู) อยู่ที่จังหวัดร้อยเอ็ด มี พระยาสุริวงศา ครองเมือง

   ครั้นทิวงคต บ้านเมืองแตกสลาย ประชากรอพยพไปอยู่ทางจังหวัดหนองคาย มีคำกลอนโบราณบทหนึ่งว่า "เมืองสิบเอ็ดผักตู สิบแปดป่องเอี้ยม ซาวเก้าแม่ขั้นได" ทั้งนี้ ก็เพราะว่าได้มีการก่อสร้างวิหารหลังสูง 6 ชั้น ชั้นที่กลางเมือง คือ กลางบึงพลาญชัย ให้มีบันได ถึง 29 ขั้น มีหน้าต่าง 18 ช่อง มีประตู 11 ช่อง และ ตำนานผาแดงนางไอ่ ตอนหนึ่งว่า บึงพลาญชัยนี้ มีบั้งไฟขนาดใหญ่ของพระยาขอมตกลงมากลายเป็นบึงขนาดใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมกราชนั้น มีเมืองขึ้นอยู่สิบเอ็ดเมือง มีทางเข้าสิบเอ็ดประตูด้วย โดยถือเป็นสัญลักษณ์พิเศษแห่งเมืองนี้

          และนี่คือที่ไปที่มาของ ตำนานอุรังคธาตุ