**ขออนุโมทนาแก่ผู้บริจาคสมทบทุนสร้างพุทธอุทยานหนองหารหลวงและมหาเจดีย์บรรจุพระเกศาสมเด็จย่า ดังมีรายนามต่อไปนี้ >>>ดร.มาลินี จรูญธรรม ๓๐๐,ครอบครัวคุณยายอรุณี โฮมไชยา ๕๐๐, นางสาวจำรอง แสงพรหมศรี ๕๐๐, นางพัลลภา กิ่่งแก้ว พร้อมบุตรธิดา ๕๐๐,คุณตาทศพล กุศลเฉลิมวิทย์ ๑๐,๐๐๐<<<
หน้าแรกข่าวประชาสัมพันธ์บทความรายนามผู้ร่วมสร้างพุทธอุทยานฯรูปภาพห้องสนทนาติดต่อเรา

ขอเชิญรับฟังรายการ "คนดีศรีสังคม" ทุกวันศุกร์-เสาร์ เวลา 19.30-20.00 น. และรายการ "สืบสานวัฒนธรรมไทย" วันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 16.00-17.00 น. ออกอากาศพร้อมกันทั้งระบบ เอเอ็ม เอฟเอ็ม และออนไลน์ทั่วโลก ทางสถานีวิทยุ 909 สกลนคร www.rbs909.com

พุทธประวัติด้านการบริหารและการธำรงรักษาพระพุทธศาสนา


พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักบริหารที่มีความสามารถสูง หลักธรรมของพระองค์สามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนการปกครองทุกระบบ ทรงเน้นคุณธรรมในการปกครองทำให้ระบบการบริหารดีส่งผลให้พระพุทธศาสนามีความเจริญรุ่งเรือง ธำรงอยู่ได้ตราบจนปัจจุบัน ซึ่งการบริหารและการธำรงรักษาพุทธศาสนามีรายละเอียด ดังนี้           

1. ด้านการบริหารของพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงมีหลักการบริหารดังนี้

-  หลักธรรมพระวินัยเป็นธรรมนูญหรือกฎหมายสูงสุดในพระพุทธศาสนา ก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จปรินิพพานได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า “ธรรมวินัยที่เราบัญญัติแก่เธอจะเป็นศาสดา ของเธอ เมื่อเราล่วงลับไป” พระธรรมวินัยจึงถือเป็นหัวใจของการปกครองคณะสงฆ์ตราบจนปัจจุบัน                              

- หลักธรรมาธิปไตย พระพุทธเจ้าทรงแสดงหลักการปกครองไว้เรียกว่า อธิปไตย 3 คือ อัตตาธิปไตย โลกาธิปไตย และธรรมาธิปไตยทรงยกย่องธรรมาธิปไตย เป็นสำคัญ เพราะนักบริหารแบบธรรมาธิปไตยยึดธรรมหรือหลักความถูกต้องชอบธรรม ฟังความคิดเห็นของผู้อื่นทำให้ได้ทั้งคนและงาน ต่างจากนักบริหารแบบอัตตาธิปไตยที่ยึดตนเองเป็นสำคัญ ถือว่าตนฉลาดกว่าคนอื่นเป็นเผด็จการได้งานเสียคน และนักโลกาธิปไตย เอาใจคนอื่นไม่มีจุดยืน ไม่กล้าขัดใจใคร ได้คนแต่เสียงานหรือเสียทั้งงาน เสียทั้งคน               

หลัก ธรรมาธิปไตยมีองค์ประกอบดังนี้

- หลักเสรีภาพ ทรงเน้นเสรีภาพส่วนบุคคล โดยเฉพาะการเลือกนับถือศาสนา สอนให้ใช้สติปัญญาไตร่ตรองให้รอบคอบก่อนปลงใจเชื่อคำสอนใด ๆ ให้ใช้วิจารณญาณตามหลักสัมมาทิฏฐิอย่าเชื่อโดยขาดสติหรือขาดปัญญาตรึกตรอง และทรงเน้นเสรีภาพที่สูงสุด คือ การหลุดพ้นจากความทุกข์ที่เป็นเหตุให้ต้องเวียนว่ายตายเกิด

- หลักความเสมอภาค ทรงยืนยันว่าทั้งชายและหญิงมีความเสมอภาคด้านการ ตรัสรู้ธรรมหลักสิทธิมนุษยชนทรงห้ามไม่ให้ภิกษุณีมีทาสหญิงและทาสชาย และทาสที่เข้ามาบวชเป็นพระภิกษุย่อมได้รับสิทธิเทียบเท่ากับภิกษุรูปอื่น ๆ ทุกคนมีสิทธิที่จะได้ศึกษาและปฏิบัติธรรมวินัยอย่างเสมอกัน                                    

- หลักภราดรภาพ ทรงเน้นเมตตาเป็นสำคัญถือว่ามนุษย์ทุกคนเป็นเพื่อน ร่วมเกิด แก่ เจ็บ และตาย ทรงสอนไม่ให้เบียดเบียนกันแม้แต่สัตว์ก็อย่าไปทำร้าย นับว่าหลักศีล 5 และธรรม 5 เป็นภราดรภาพในพระพุทธศาสนาหลักสังคหวัตถุธรรม 4 เป็นหลักธรรมที่ถือว่าเป็นหัวใจของมิตรภาพระหว่างบุคคลและสังคม            

2. ด้านการธำรงรักษาพระธรรมวินัย

หลักการธำรงรักษาพระธรรมวินัยทรง มอบให้เป็นภาระรับผิดชอบของพุทธบริษัท 4 โดยประทานความเป็นใหญ่ในคณะสงฆ์ในด้านต่าง ๆ ที่เป็นเรื่องของส่วนรวม ทรงปรารภอนาคตว่า การร้อยกรองพระธรรมวินัยขึ้นเพื่อเป็นหลักช่วยมิให้สงฆ์แตกแยกกันภายในภาย ภาคหน้า

แสดงว่าพระองค์ทรงหลักปาปณิก ธรรม คือ ธรรมสำหรับนักบริหาร 3 อย่างประกอบด้วย จักษุมา หมายถึง มีสายตายาวไกลกำหนดเป้าหมายและวางแผน 3 ประการ คือ รู้ตน รู้คน และรู้งาน ตรงกับคำว่า ทักษะในการใช้ความคิด วิธุโร หมายถึง จัดการธุระได้ดีมีความชำนาญเฉพาะด้าน ตรงกับคำว่า ทักษะด้านเทคนิค และ นิสสยสัมปันโน หมายถึง อาศัยคนอื่นได้ เพราะเป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ดี ตรงกับคำว่า ทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์

3 .ด้านเป็นมนุษย์ผู้ฝึกตนได้อย่างสูงสุด

          การ ฝึกตนอันประเสริฐสุดในพระพุทธศาสนา คือ การ ฝึกตนตามหลักมรรค 8 ประการ พุทธเจ้าทรงได้ชื่อว่าเป็นนักเสียสละผู้ยิ่งใหญ่ ทรงสละสิ่งเล็กน้อยไปจนถึงสละกิเลสจนได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ถือว่าพระองค์เป็นตัวอย่างที่ดี ทรงฝึกตนเป็นนักเสียสละ                  

พระพุทธเจ้าทรงฝึกตนด้วยการ เสียสละสิ่งนอกกาย สรุปได้ดังนี้

1. ทรงเสียสละอำนาจอันยิ่งใหญ่ ทรงสละการเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในอนาคตมีอำนาจครอบงำทั่วโลก เพื่อพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันเป็นประโยชน์แก่สรรพสัตว์ในการพ้นจากความทุกข์                    

2. ทรงเสียสละครอบครัวอันเป็นที่รัก ทรงสละบุคคล เหล่านั้นไปบรรพชาอุปสมบท เพื่อแสวงหาสัจธรรมคือ พระสัมโพธิญาณ และเพื่อช่วยสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์ เมื่อทรงตรัสรู้แล้วก็เสด็จมาโปรดพระประยูญาติ และบุคคลอื่น ๆ ให้รู้ในสัจธรรม

3. ทรงเสียสละโลกียสุข  ในฐานะเป็นเจ้าชายรัชทายาทแทนที่จะทรงใช้ชีวิตอยู่ในปราสาท 3 ฤดู บำเรอด้วยสุขต่างๆแต่ทรงกลับสละออกไปโดยไม่อาลัยอาวรณ์                                            

4. ทรงเสียสละความสุขความสบายส่วนพระองค์ หลังจากตรัสรู้แล้วแทนที่พระองค์จะเสวยวิมุตติสุข หรือสุข คือ พระนิพพานเพียงลำพัง แต่ทรงช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์ด้วย โดยการเสด็จเที่ยวสั่งสอนเป็นเวลา 45 พรรษา จนถึงวาระแห่งปรินิพพาน

พระพุทธเจ้าทรงฝึกตนด้วยการเสียสละกิเลสภายใน สรุปได้ดังนี้

1. ทรงเสียสละแม้ชีวิตเพื่อแสวงหาโมกขธรรม ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาเป็นเวลา 6 ปี ยังไม่บรรลุมรรคผลแต่ทรงไม่ย่อท้อพระทัยและเปลี่ยนมาบำเพ็ญเพียรทางใจ ทรงแน่พระทัยว่าการบำเพ็ญเพียรทางจิตเป็นหนทางให้บรรลุมรรคผลได้ จึงทรงอธิษฐานว่าแม้หนัง เอ็น กระดูก เนื้อ และเลือดในสรีระจักเหือดแห้งไป เมื่อยังไม่บรรลุจักไม่ยอมหยุดความเพียรนั้น ซึ่งการกระทำของพระองค์แสดงถึงความเด็ดเดี่ยวเยี่ยงมหาบุรุษที่ยากจะหาผู้ใด เสมอเหมือนได้           

2. ทรงฝึกตนด้วยการอดทนต่อเหตุการณ์ร้ายต่าง ๆ ตลอดช่วงเวลาที่เผยแผ่คำสอน เช่น ทรงอดทนต่อการถูกนางจิญจมานวิก กล่าวร้ายว่าเป็นผู้ทำนางท้อง ทรงใช้ความอดทนเป็นเครื่องพิสูจน์ความบริสุทธิ์ จนหลุดพ้นจากเหตุการณ์ร้าย

3. ทรงมุ่งเน้นหลักไตรสิกขา คือ หลักการฝึกฝนอบรมตนในพระพุทธศาสนา หลักไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ ปัญญาเป็นหลักการย่อของมรรคมีองค์ 8 ทรงฝึกมาอย่างสมบูรณ์ ทำให้ได้อิสรภาพภายในคือ พระนิพพาน พระองค์ไม่เพียงแต่ฝึกตนเองเท่านั้นแต่ยังฝึกคนอื่นได้อย่างดีเยี่ยมด้วย

การศึกษายุคดิจิตอล