สถานภาพของวัด
วัดสะพานคำเป็นวัดในสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อวัด สะพานหิน เป็นวัดเก่าแก่คู่กับเมืองสกลนครมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ตามประวัติว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๙๓ โดยพระยาประจันตประเทศธานี (ปิด) เจ้าเมืองสกลนคร มีเนื้อที่ดิน ๓ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๗๔๐
ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๕ ได้เปลี่ยนชื่อจาก วัดสะพานหิน มาเป็นชื่อวัดสะพานคำ ปัจจุบันตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๖๗ ถนนเจริญเมือง ตำบลธาตุเชิงชุม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
การบริหารการปกครอง
วัดสะพานคำ ตั้งแต่เริ่มสร้างวัดมีเจ้าอาวาสวัดที่ทราบนามดังนี้
ปี พ.ศ. ๒๔๔๘- ๒๔๕๘ พระครูนิวิฐสมณวัตร (ลา) อดีตเจ้าคณะแขวง,
ปี พ.ศ. ๒๔๕๘- ๒๕๑๖ พระครูประดิษฐ์สารธรรม (ผา) อดีตเจ้าคณะตำบลสะพานหิน,
ปี พ.ศ.๒๕๑๗-๒๕๔๕ พระครูโอภาสสกลธรรม (สว่าง) อดีตรองเจ้าคณะอำเภอเมืองสกลนคร,
ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ถึงปัจจุบัน พระมหาคาวี ญาณสาโร ปธ.๖, พธ.บ.,ศศ.ม.(ธรรมศาสตร์)
ปูชนียวัตถุและปูชนียสถานสำคัญของวัด
หลวงพ่อสะพานหินวัดสะพานคำมีพระพุทธรูปเก่าแก่สำคัญศักดิ์สิทธิ์คู่วัดชื่อ “หลวงพ่อสะพานหิน” เป็นพระพุทธรูปศิลปะล้านช้างปางมารวิชัย หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว จากฐานถึงพระเกศ ๔๕ นิ้ว มีลักษณะพิเศษคือมีลำพระศอยาวและมีห่วงพระศอ ๓ ห่วง พระกรรณยาวและเจาะรูทั้ง ๒ ข้าง ปัจจุบันประดิษฐานเก็บรักษาที่กุฏิเจ้าอาวาส
อุโบสถ (สิม)วัดสะพานคำมีอุโบสถ (สิม) สร้างแบบทรงไทยอีสาน หลังคามุงด้วยไม้ก่อด้วยหินศิลาแลง อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๑๐๐ กว่าปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นแหล่งโบราณคดีจังหวัดสกลนครอันดับที่ ๔๒ ของสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม อุโบสถหลังที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ฉัตรและหลังคาทำด้วยไม้ผุพังรั่วน้ำฝน ผนังฉาบปูนมีการผุกร่อน พระพุทธรูปปูนปั้นบางองค์แตกร้าว ขณะนี้ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมได้เหมือนเดิมแล้ว
อุโบสถ (สิม)วัดสะพานคำมีอุโบสถ (สิม) สร้างแบบทรงไทยอีสาน หลังคามุงด้วยไม้ก่อด้วยหินศิลาแลง อันเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่พระสงฆ์และชาวบ้านได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง ซึ่งมีอายุเก่าแก่ถึง ๑๐๐ กว่าปี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๘ เป็นแหล่งโบราณคดีจังหวัดสกลนครอันดับที่ ๔๒ ของสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม อุโบสถหลังที่มีสภาพชำรุดทรุดโทรมลงตามกาลเวลา ฉัตรและหลังคาทำด้วยไม้ผุพังรั่วน้ำฝน ผนังฉาบปูนมีการผุกร่อน พระพุทธรูปปูนปั้นบางองค์แตกร้าว ขณะนี้ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีใช้ประโยชน์ในการประกอบพิธีกรรมได้เหมือนเดิมแล้ว
ฌาปนสถานวัดสะพานคำ ได้สร้างฌาปนสถานที่ทันสมัยเป็นแห่งแรกของจังหวัดสกลนคร เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒ มีพระครูโอภาสสกลธรรม (สว่าง จนทโชโต) เป็นผู้อำนวยการสร้างโดยการอุปถัมภ์ของกองทัพภาคที่ ๒ เพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลศพของบรรดาเหล่านายทหารที่เสียชีวิตในระหว่างการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ในขณะนั้น ฌาปนสถานแห่งนี้ได้เอื้อประโยชน์แก่เหล่าข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนชาวเมืองสกลนครให้ได้รับความสะดวกสบายในการบำเพ็ญกุศลฌาปนกิจศพเป็นอย่างดีตลอดระยะเวลายาวนานจนถึงปัจจุบัน
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๖ พระมหาคาวี ญาณสาโร ได้บูรณปฏิสังขรณ์เปลี่ยนจากการเผาแบบเดิมที่ใช้ถ่านมาเป็นเตาเผาแบบไร้มลพิษ เพื่อเป็นการช่วยรักษาสมดุลภาพทางธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอาคาร
และเสนาสนะของวัดวัดสะพานคำในปัจจุบัน มีกุฏิสงฆ์ ๔ หลัง หอกลองหอระฆัง ๑ หลัง และศาลาบำเพ็ญกุศลศพ ๔ หลังคือ (๑.) ศาลาพระและนางยุติกรดำรงสิทธิ์ (๒๕๓๑) (๒.)ศาลาคุณหลวงอรรถวิจิตรจรรยารักษ์ (๒๕๓๒) (๓.) ศาลาวิสุทธิ์-บุญนาม (๔.) ศาลาประไพ เดชตีรยาภา (๒๕๓๗) และได้สร้าง ศาลา ๕ ธันวามหาราช เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมพรรษาครบ ๘๐ พรรษา ซึ่งจะใช้เป็นศาลาอเนกประสงค์ ที่ตั้งสำนักงานยุวพุทธิกสมาคมจังหวัดสกลนคร เป็นที่ประชุมอบรมศีลธรรมจริยธรรมแก่เยาวชน ประชาชนทั่วไป
โครงการและกิจกรรมการพัฒนาสังคมในอดีตและปัจจุบัน
พระครูโอภาสสกลธรรม (สว่าง จนฺทโชโต) เป็นพระนักพัฒนา อดีตเป็นบุคคลหนึ่งในขบวนการเสรีไทยที่ได้บวชถวายชีวิตทำงานเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย ในอดีตได้จัดตั้งโครงการต่างๆ มากมายดังนี้
ที่ตั้งสำนักงานยุวพุทธิกสมาคมสกลนคร,
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลธาตุเชิงชุม (อ.ป.ต.),
ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ,
โครงการคุณพระช่วย,
โครงการเพิ่มปัญญา,
โครงการหมอชาวบ้าน เป็นต้น
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดสะพานคำ
วัดสะพานคำเป็นที่ตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้จัดตั้งโครงการโรงเรียนวัดสอนเด็กก่อนเกณฑ์เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๕๒๐ โดยจัดการเรียนการสอนและอบรมด้านคุณธรรมและจริยธรรมแก่เด็กเล็กตามสมควรแก่วัย สนองนโยบายของคณะสงฆ์และรัฐบาลในด้านขยายโอกาสทางการศึกษาในระดับก่อนประถมศึกษา ได้ขออนุญาตจากกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ จัดตั้งศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดตามระเบียบกรมการศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๒ ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๔ รับเด็กที่มีอายุตั้งแต่ ๒-๕ ปี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือแบ่งเบาภาระการเลี้ยงดูของมารดาบิดาที่ไม่มีเวลาดูแล เพราะต้องประกอบอาชีพหน้าที่การงานและปลูกฝังให้เด็กมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวัดและพระสงฆ์ ตั้งแต่เยาว์วัย ปัจจุบันศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดสะพานคำมีเด็กเล็ก ประมาณ ๘๐ คน ครูพี่เลี้ยง ๔ คน
เกี่ยวกับเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
พระมหาคาวี ญาณสาโร (สร้อยสาคำ) เจ้าอาวาสวัดสะพานคำ เป็นพระนักเทศน์และพระนักจัดรายการวิทยุ มีผลงานด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาและจัดกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน และพุทธศาสนิกชนมากมาย ผลงานของท่านอย่างหนึ่งที่ผ่านมาได้รับโล่รางวัลนักจัดรายการวิทยุด้านวัฒนธรรมดีเด่น โดยบันทึกเทปออกในเคเบิ้ลทีวีของจังหวัดสกลนคร(ดูรายละเอียดที่นี่) และติดตามผลงานด้านวรรณกรรมได้ที่ http://nagglon.wordpress.com